เเบตเตอรี่กระดาษ (SoftBatterys)
เเบตเตอรี่ชนิดใหม่ ที่ไม่ต้องนำไปรีไซเคิลหลังใช้ เสร็จเเล้ว เเต่ใช้เเล้วทิ้งเลยเเบบเศษขยะทั่วไปได้ถูก
พัฒนาขึ้นเเล้วโดยบริษัทEnfucell ของFinland เเบตเตอรี่ดังกล่าวสามารถตัดปัญหาการรั่วไหลของโลหะเเละสารอัลคาไลน์ที่พบ เจอในเเบตเตอรี่ทั่วๆไป อีกทั้งยังช่วยรักษาสิ่งเเวดล้อมด้วยเซลล์เชื้อเพลิงที่สร้างจากกระดาษนี้ทำงานด้วยหลักการเดียวกันกับถ่านนาฬิกา เเละถ่านไฟฉาย ไอออน(Ion) เดินทางจากขั้วลบ(anode) ผ่านสารละลายelectrolyte ไปสู่ขั้วบวก(cathode) ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า เเต่เเทนที่จะให้ไอออนเดินทางในกรอบโลหะซึ่งเต็มไปด้วยโลหะเป็นพิษอย่าง Lithium ทางบริษัท Enfucell ใช้กระดาษเเผ่นบางๆเป็นเส้นทางลำเลียงไอออน โดยเคลือบด้านนึงของกระดาษด้วยสังกะสี (zinc) เเละอีกข้างด้วยเเมงกานีส ไดออกไซด์(Manganese dioxide) ไอออนจะไหล ผ่านสารละลายของน้ำเเละ zinc chloride ภายในกระดาษ
เจ้าเเบตเตอรี่1.5V(เท่ากับถ่านไฟฉาย)ตัวนี้ไม่ได้เเค่เป็นมิตรกับสิ่งเเวด ล้อม เเต่ยังถูกด้วย เมื่อผลิตในจำนวนมากก็จะสามารถขายได้ในราคา ชิ้นละหนึ่งเพนนี(ไม่ถึงบาท) โดยมีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ความบาง 4 ม.ม. ความกว้างเเละยาวอยู่ที่ 5×5 ซ.ม.
SoftBatterysไม่สามารถให้พลังงานได้นานพอสำหรับกล้องดิจิตอลหรือนาฬิกาข้อ มือ เเต่เหมาะสำหรับระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID
(Radio Frequency Identification)tag หรือเเผ่นป้ายส่งข้อมูลไร้สายที่กำลังมาเเทนที่ระบบบาร์โค้ด ตัวอย่างการใช้ระบบRFID ก็เช่นเเผ่นป้าย ติด
ตัวสินค้าในร้านค้า มันสามารถทำให้เรารู้ได้ว่ามีสินค้าในสต็อกเท่าไหร่ เเบตเตอรี่จะเหมาะกับความบางของเเผ่นป้ายมาก
ข้อดีอีกอย่างคือ เเผ่นป้ายRFIDที่มีเเบตเตอรี่ในตัวเองจะส่งสัญญาณได้ชัดเจนเเละไกลกว่า เเบตเตอรี่ก็ไม่ถูกใช้อย่างสิ้นเปลือง เพราะพลังงานจะถูก
นำมาใช้เฉพาะตอนที่เเผ่นป้ายส่งสัญญาณเท่านั้น นอกจากนี้ยังส่งสัญญาณผ่านของเหลวเเละอะลูมิเนียม สองอย่างที่มักบล็อกสัญญาณได้ด้วย
บัตรอวยพรที่มีเสียงดนตรี เเผ่นพับโฆษณาสินค้า เเละเเผ่นปะชนิดต่างๆก็สามารถนำเเบตเตอรี่กระดาษไปใช้พัฒนาให้ดีขึ้นได้ เช่นจะทำให้เเผ่นปะกันรอยย่นเเละตีนกา(Anti-wrinkle patch) เเละ เเผ่นปะช่วยลดอาการอยากบุหรี่ (Stop-smoking patch) มีประสิทธิภาพดีขึ้น สมมุติว่าคุณใช้เเผ่นปะ นิโคตินเป็นประจำ เเต่เช้านี้รู้สึกอยากบุหรี่เป็นพิเศษ คุณก็เเค่กดปุ่ม เเบตเตอรี่จะจัดการให้
แหล่งข้อมูล : WWW.VCHARKARN.COM , WWW.TIME.COM
แอลอีดีแนวใหม่ ทางเลือกในการประหยัดพลังงาน
“พลาสติกจะกลายเป็นอนาคตของหลอดไฟ” บริษัทไซเบอร์ลักซ์ กล่าว
บริษัทไซเบอร์ลักซ์ ผู้นำเทคโนโลยีไดโอดส่องแสง (light-emitting diodes) หรือแอลอีดี (LEDs) ในสหรัฐอเมริกา กำลังวางแผนเปิด
ตัวต้นแบบแอลอีดีชนิดแสงสีขาวภายในสี่เดือนนี้ ทางบริษัทเชื่อว่า แอลอีดีแบบใหม่นี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตรวมทั้งให้กำลังแสงสว่างมากกว่า
หลอด ไฟทั่วไป ประธานบริษัทไซเบอร์ลักซ์ นาย มาร์ค ชมิทซ์ เชื่อว่า จุดเด่นสองอย่างนี้จะทำให้แสงสว่างจากแอลอีดีซึ่งปัจจุบันยังมีราคาค่อน
ข้าง สูง สามารถแข่งขันกับหลอดไฟทั่วไป เช่น หลอดแก้วหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ในตลาดได้ ด้วยเทคโนโลยีแอลดีอีในขณะนี้ ผู้บริโภคจะต้อง
จ่ายมากกว่า 5 ดอลล่าร์ สำหรับชิพของแอลอีดีทั่วไป หากต้องการนำแอลอีดีมาใช้กับไฟฉายหรือตะเกียง ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าอุปกรณ์อื่นๆเพิ่ม
เติมอีกมากถึง 10 ดอลล่าร์
เทคโนโลยีของแอลอีดีชนิดใหม่นี้ คิดค้นโดย นาย สตีเวน เดนบาร์ ผู้สนับสนุนการนำแอลอีดีมาใช้แทนหลอดไฟทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้พลังงานและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และนาย อลัน ฮีเกอร์ เจ้าของรางวัลโนเบล แอลดีอีนี้ เป็นผลงานวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัย
แคลิฟอร์เนีย ซานต้าบาบาร่า และ Rensselaer Polytechnic Institute
แอลอีดีแสงขาวที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้น ในความเป็นจริงแล้ว สารกึ่งตัวนำจะปล่อยแสงสีฟ้า ซึ่งจะเดินทางผ่านสารเรืองแสงเพื่อให้แสงสีขาวออก
มาแทน สารเรืองแสงนั้นจะเคลือบอยู่บนฐานซึ่งจะต้องถูกวางในมุมและตำแหน่งที่เหมาะ สมใกล้กับสารกึ่งตัวนำ เนื่องจากการติดตั้งสารเรืองแสง
เป็นเรื่องที่ยากและต้องการความถูกต้องสูง การติดตั้งสารเรืองแสงจึงเป็นกระบวนการที่มีราคาแพงที่สุดในการผลิตแอลอีดี นาย ชมิทซ์ กล่าว
ในแอลอีดีต้นแบบรูปแบบใหม่นี้ แผ่นพลาสติกชนิดพิเศษได้ถูกนำมาแทนที่ฐาน ซึ่งเคลือบด้วยสารเรืองแสง แผ่นพลาสติกชนิดนี้จะทำหน้าที่เหมือนกับห่อสูญญากาศกักโฟตอนให้วิ่งผ่านสารเรืองแสงมากขึ้น ส่งผลให้แอลอีดีแบบใหม่นี้ให้ความสว่างมากขึ้นด้วยปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ เท่ากัน เมื่อเทียบกันกับหลอดแก้วทั่วไปซึ่งมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า เป็นแสงสว่างเพียง 5% หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ไม่ได้
รับความนิยมมากนักในครัวเรือน บริษัทไซเบอร์ลักซ์เชื่อว่า แอลอีดีแบบใหม่นี้ จะเอาชนะหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้แน่นอน
การที่จะนำพลาสติกมาใช้ในแอลอีดีได้นั้น จะต้องมีการปรับปรุงรูปแบบของ
แอลอีดีทั่วไปเล็กน้อย เนื่องจากความร้อนจากการทำงานของแอลอีดีสามารถทำให้พลาสติกละลายได้ แอลอีดีรูปแบบใหม่ จึงต้องมีขนาดใหญ่กว่าแอลอีดีเดิมเพื่อการระบายความร้อนที่ดีขึ้น แอลอีดีของบริษัทไซเบอร์ลักซ์ จะมีอายุการใช้งานนาน 25,000-75,000 ชั่วโมง ซึ่งสั้นกว่าแอลอีดีทั่วไปแต่ยาวกว่าหลอดไฟธรรมดา
นาย เดนบาร์ เคยกล่าวไว้ว่า ถ้า 25% ของหลอดไฟทั่วสหรัฐฯ ถูกเปลี่ยน
ให้เป็น แอลอีดีประเภทนี้ ซึ่งให้ความสว่างถึง 150 ลูเมน สหรัฐฯจะลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าได้มากถึง 115,000 ล้านเหรียญ ภายใน ปี 2025 นั่นหมายความว่า ทางรัฐบาลไม่จำเป็นต้องก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ 133 แห่ง และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ในบรรยากาศได้ถึง 258 ล้านเมตริกตัน
เชื้อเพลิงน้ำมันสังเคราะห์
การแปรรูปขยะและพลาสติกเป็นน้ำมัน ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงของประเทศ รวมถึงการขยายตัวของจำนวนประชากรเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ความต้องการใช้ พลังงานของประเทศเพิ่มสูงขึ้นติดต่อกันมาหลายปี และประเทศต้องนำเข้าพลังงานสูงมากโดยกว่าร้อยละ 50 เป็นการนำเข้าน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป จากข้อเท็จจริงข้างต้นทำให้แนวคิดการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกคิดค้นและนำมาประยุกต์ใช้
ทิศทางการส่งเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนในประเทศสามารถ สรุปรูปแบบของการพัฒนาได้เป็น 2 ส่วนหลัก
ส่วนแรก คือ พลังงานทดแทนที่ใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงประกอบด้วย
- พลังงานแสงอาทิตย์
- พลังงานลม
- พลังงานชีวมวล
- พลังงานก๊าซชีวภาพ
- พลังงานขยะ
- พลังงานน้ำจากเขื่อนขนาดเล็ก
ส่วนที่สอง คือ พลังงานทดแทนที่ผลิตใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงประกอบด้วย
- เอทานอล (แก๊สโซฮอล์)
- ไบโอดีเซล
- NGV
- น้ำมันจากขยะพลาสติก
ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิตและรายละเอียดอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ “เชื้อเพลิงน้ำมันสังเคราะห์”